วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข้อดีภาษา JSP

- JSP สามารถเรียนรู้และใช้งานได้ง่าย

- JSP สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในฝั่งเซิร์ฟเวอร์

- JSP จะทำการ compiled ก่อนเสมอ ที่จะส่งไปรันบนเซิร์ฟเวอร์

- JSP สามารถใช้งานร่วมกับ servlets ได้

- JSP เป็นส่วนหนึ่งของ J2EE ซึ่งหมายความว่า JSP สามารถเป็นส่วนในการทำงานที่ง่าย หรือซับซ้อนได้

- JSP เขียนด้วยภาษา java จึงทำให้มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ง่ายกว่า

- JSP สามารถใช้กับ webserver ระบบปฏิบัติการใด ๆ ได้ ไม่เฉพาะแต่ของ Microsoft Web servers เท่านั้น


ข้อเสียภาษา JSP

            ข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือการยากในการจัดเก็บ และการยากในการย้ายไฟล์จากเซฟเวอร์หนึ่ง ไปยังอีกเซฟเวอร์หนึ่ง เพราะโดยทั่วไปแต่ละ webserver จะมีลักษณะการจัดเก็บไฟล์ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อ Java Servlet Specification เวอร์ชั่น 2.2 ออกมา เซฟเวอร์ที่ใช้รัน Servlet v2.2 จะถูกบังคับให้มีต้องการสนันสนุนการจัดเก็บไฟล์แบบหนึ่ง ที่เรียกว่า Web Applicaton 

            web application คือกลุ่มของไดเรคทรอรี่และไฟล์ที่อาจจะประกอบด้วย html, jsp, servlet, javabean และอื่น ๆ ซึ่งอยู่รวมกันในลักษณะของระบบไฟล์ (file system) หรือถูกอัดอยู่ในไฟล์เดียวกันโดยจะเรียกว่า Web Archive (.war) ไฟล์ ซึ่งมีประโยชน์ในการโยกย้ายและติดตั้งจากเซฟเวอร์หนึ่งไปยังอีกเซฟเวอร์หนึ่ง 

การใช้งานภาษา JSP

    1. ผู้ใช้ เปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ และพิมพ์ URL ลงในช่อง Address ของเว็บราวเซอร์เพื่อระบุร้องขอ ไฟล์ JSP เช่น http://locahost/hello.jsp จากนั้นกด Enter เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ก็จะส่งการร้องขอไฟล์  hello.jsp ไปยัง Wed server ( เรียกว่า  HTTP request )
     2. Wed server ส่งต่อการร้องขอของ Client ไปยัง Wed container คือ ส่งการร้องขอไฟล์ชื่อ hello.jsp ไปยัง Wed container
     3. Wed container ทำการประมวลผลไฟล์ hello.jsp ตามที่ Client ร้องขอเข้ามา
     4. เมื่อประมงลผลเสร็จเรียบร้อย Wed container จะส่งผลลัพธ์ที่ได้กลับไปยัง Wed server
   5. Wed server ส่งผลลัพธ์ที่ได้กลับคืนไปยัง Client ( เรียกว่า  HTTP request ) ซึ่งทำให้ผู้ใช้เห็นผลลัพธ์ ของไฟล์ hello.jsp แสดงออกมาที่เว็บบราวเซอร์นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น